ผลการปรับโซนนิ่งเกษตร จังหวัดพระนครศรีอยุธยาเว็บไซต์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ภาพ logo website จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ผลการปรับโซนนิ่งเกษตร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ผู้เขียน:  จรัญญา ศรีไพร จาก สำนักงานจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ปรับปรุงเนื้อหาสุดเมื่อวันอังคารที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2556 เวลา 11:18 น.

 อ่าน 5,114
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ปรับเกษตรโซนนิ่งสนองนโยบายรัฐบาล เพื่อให้พี่น้องเกษตรกรได้รับผลตอบแทนคุ้มค่ามากที่สุด
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ปรับเกษตรโซนนิ่งสนองนโยบายรัฐบาล เพื่อให้พี่น้องเกษตรกรได้รับผลตอบแทนคุ้มค่ามากที่สุด
นายวิทยา ผิวผ่อง ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เปิดเผยว่า จากการที่นายกรัฐมนตรี เรียกผู้ว่าราชการจังหวัดทั่วประเทศหารือเรื่องเกษตรโซนนิ่ง ว่าแต่ละจังหวัดจะดำเนินการอย่างไรให้ใช้พื้นที่การเกษตรคุ้มค่าที่สุด และมีผลตอบแทนให้กับพี่น้องเกษตรกรสูงสุด ในส่วนของจังหวัดพระนครศรีอยุธยาได้กำชับให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทบทวน ว่าแต่ละพื้นที่มีความเหมาะสมกับพืชชนิดใด หรือสามารถปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชที่เหมาะสม
สรุปผลของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา พบว่า ข้าว ยังเป็นผลผลิตที่สำคัญของจังหวัดอยู่เช่นเดิม อันดับรองลงไปคือการทำประมงน้ำจืด เนื่องจากผลการสำรวจของ จังหวัด ยังเป็นอู่ข้าวอู่น้ำของประเทศไทยมานับจากอดีตหลายร้อยปี ขณะนี้ก็ยังเป็นอยู่อู่ข้าวอู่น้ำของประเทศ  ในเรื่องการเกษตรรองลงมา อาจมีการปรับเปลี่ยนบางพื้นที่ให้ เป็นเรื่องของการทำประมงน้ำจืด  ซึ่งขณะนี้เรามีอาหารขึ้นชื่อของอยุธยาคือกุ้งแม่น้ำ ว่าทำอย่างไรให้พื้นที่การเกษตรจะใช้ในเรื่องของการเป็นแหล่งผลิต การประมงน้ำจืด กุ้ง ปลา เนื่องจากอยุธยายังมีสภาพแวดล้อมที่สามารถทำประมงน้ำจืดได้เป็นอย่างดี
นายวิทยา ผิวผ่อง กล่าวเพิ่มเติมว่า นอกเหนือจากการปรับเกษตรโซนนิ่งแล้ว จังหวัดฯ ยังได้ปรับเรื่องของการลดต้นทุนการผลิตให้กับเกษตรกร การฝึกปฏิบัติจริงของการงดใช้สารเคมี ส่งเสริมให้เกษตรกรจัดระบบการผลิตให้เป็นไปอย่างถูกต้อง และการบริโภคข้าวปลอดภัย

ข่าวเก่าที่ผ่านมา>>

เนื่องจากจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จะต้องนำเสนอข้อมูลให้กับรัฐบาลทราบเกี่ยวกับผลความคิดเห็นของประชาชนในการปรับเปลี่ยนการปลูกพืชให้เหมาะสมกับพื้นที่และคุณภาพดินของจังหวัด  ภายในวันที่ ๕ สิงหาคม ๒๕๕๖

จึงขอเชิญหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้องด้านการเกษตร อาทิ เกษตรจังหวัด เกษตรและสหกรณ์จังหวัด ปฏิรูปที่ดินจังหวัด  สถานีพัฒนาที่ดิน  สหกรณ์จังหวัด ประมงจังหวัด  ปศุสัตว์จังหวัด  ผู้อำนวยการโครงการชลประทานพระนครศรีอยุธยา  รวมถึง นายอำเภอ เกษตรอำเภอ  เข้าร่วมประชุม ในวันที่ ๓๐ กรกฎาคม ๒๕๕๖ เวลา ๑๖.๐๐ น. ณ ห้องวิทยายุทธ  ชั้น ๑ ศาลากลางจังหวัดพระนครศรีอยุธยา  โดยให้เตรียมข้อมูลประกอบการประชุมมาด้วย

และขอเชิญเข้าร่วมประชุมผ่านระบบวิดีทัศน์ทางไกล Video Conference ณ ห้องประชุม ๓ ชั้น ๔ ในวันพุธที่ ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๕๖  เวลา ๐๘.๐๐ - ๑๔.๐๐ น. 

หนังสือสั่งการที่เกี่ยวข้อง
๑. ข้อมูลรายงานสภาพการปลูกข้าว ณ ปัจจุบัน จากข้อมูลดาวเทียม (๑-๑๕ ก.ค. ๕๖)   
๒. ด่วนที่สุดที่ มท ๐๒๑๑.๔/ว ๓๐๙๑ ลงวันที่ ๓๐ กรกฎาคม ๒๕๕๖ เรื่องสรุปผลการประชุมเมื่อวันที่ ๒๘ ก.ค.๕๖ 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง>>

นโยบายโซนนิ่งภาคเกษตร

    ที่มา www.thairath.co.th

กระทรวงเกษตรฯ ออกประกาศเขตโซนนิ่งพืช 6 ชนิดแล้ว เตรียมส่งข้อมูลถึงผู้ว่าฯ ทุกจังหวัด
 
กระทรวงเกษตรฯ  ออกประกาศเขตโซนนิ่งพืช 6 ชนิดแล้ว เตรียมส่งข้อมูลถึงผู้ว่าฯ ทุกจังหวัด
 

กระทรวงเกษตรฯ  ออกประกาศเขตโซนนิ่งพืช 6 ชนิดแล้ว เตรียมส่งข้อมูลถึงผู้ว่าฯ ทุกจังหวัด หวังปรับการผลิตของเกษตรกรให้เหมาะสมลดปัญญาผลผลิตล้นตลาด

 นายยุคล   ลิ้มแหลมทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า  ขณะนี้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ออกประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์  เรื่อง การกำหนดเขตเหมาะสมสำหรับการปลูกพืช 6 ชนิดได้แก่ ข้าว มันสำปะหลัง ยางพารา ปาล์มน้ำมัน อ้อยโรงงาน และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เรียบร้อยแล้ว โดยวิเคราะห์ความเหมาะสมของที่ดินกับปัจจัยความต้องการของพืชแต่ละชนิดตามสภาพที่มีการเพาะปลูกพืชแต่ละชนิดในปัจจุบันร่วมกับปัจจัยที่เกี่ยวข้องอื่นๆ เช่น เขตป่าไม้ตามกฎหมาย เขตพื้นที่โครงการชลประทาน เป็นต้น  โดยขั้นตอนหลังจากนี้กระทรวงเกษตรฯ จะจัดส่งไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด เพื่อให้มีข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการทำการผลิตหรือการส่งเสริมการผลิตทางการเกษตรที่เหมาะสม มีปริมาณการผลิตที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาด สามารถรักษาเสถียรภาพของระดับราคาผลผลิตทางการเกษตร และยกระดับรายได้ของเกษตรกรให้สูงขึ้น


            สำหรับเขตเหมาะสมต่อการปลูกข้าวมีทั้งสิ้น  75 จังหวัด 793 อำเภอ 5,669 ตำบล แบ่งเป็น ภาคเหนือ 17 จังหวัด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 20 จังหวัด ภาคกลาง 18 จังหวัด ภาคตะวันออก 7 จังหวัด และภาคใต้ 13 จังหวัด เขตเหมาะสมสำหรับการปลูกอ้อยโรงงาน 51 จังหวัด  432 อำเภอ  2,369 ตำบล แบ่งเป็น ภาคกลาง 11 จังหวัด ภาคตะวันออก 6 จังหวัด ภาคเหนือ 14 จังหวัด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 20 จังหวัด เขตเหมาะสมสำหรับการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์รวมทั้งสิ้น 42 จังหวัด แบ่งเป็น ภาคเหนือ 17 จังหวัด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 12 จังหวัด ภาคกลาง 7 จังหวัด ภาคตะวันออก 6 จังหวัด            

ขณะที่พื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับปลูกยางพารามีทั้งสิ้น 68 จังหวัด  499 อำเภอ 2,251 จังหวัด  แบ่งเป็น ภาคกลาง 8 จังหวัด ภาคตะวันออก 7 จังหวัด ภาคเหนือ 17 จังหวัด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 20 จังหวัด และภาคใต้ 14 จังหวัด เขตเหมาะสมสำหรับการปลูกมันสำปะหลังมีทั้งสิ้น 49 จังหวัด 478 อำเภอ 2,314 ตำบล แบ่งเป็น ภาคกลาง 9 จังหวัด ภาคตะวันออก 6 จังหวัด ภาคเหนือ 14 จังหวัด และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 20 จังหวัด  และสุดท้ายคือเขตเหมาะสมสำหรับการปลูกปาล์มน้ำมัน มีทั้งสิ้น 26 จังหวัด 185 อำเภอ 856 ตำบล แบ่งเป็น ภาคกลาง 5 จังหวัด ภาคตะวันออก 7 จังหวัด และภาคใต้ 14 จังหวัด            

“การประกาศกำหนดเขตเหมาะสมสำหรับปลูกพืช 6  ชนิดในครั้งนี้  จะเป็นข้อมูลที่สำคัญในการให้เกษตรกรพิจารณาและตัดสินใจร่วมกับเจ้าหน้าที่ของกระทรวงเกษตรฯในพื้นที่ เพื่อให้การเพาะปลูกของตัวเองเกิดความเหมาะสมและเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ  ซึ่งกระทรวงเกษตรฯ ก็ต้องมีการพิจารณาหามาตรการจูงใจให้เกษตรกรหันมาปรับเปลี่ยนการเพาะปลูกให้มีความเหมาะสมกับพื้นที่ เช่น การสนับสนุนด้านโครงสร้างพื้นฐานไม่ว่าจะเรื่องน้ำ หรือปัจจัยการผลิตอื่นๆ ควบคู่ด้วย“ นายยุคล กล่าว

ที่มา : www.thaigov.go.th

 

 

ดาวน์โหลดไฟล์ รายละเอียดแบบฟอร์มการสำรวจการปรับเปลี่ยนการปลูกพืชที่เหมาะสม

  

ดาวน์โหลดไฟล์
คำค้นหา
 
comments powered by Disqus
ข่าวในประเภทประชาสัมพันธ์
ข่าวโดยสำนักงานจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ข่าวล่าสุด
สนใจมากสุดในรอบเดือน
เข้าชมล่าสุด