๒๕ พ.ย. ๕๖ รับฟังความคิดเห็นประชาชนเรื่องโครงการศึกษาและออกแบบรถไฟความเร็วสูง ที่จ.พระนครศรีอยุธยาเว็บไซต์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ภาพ logo website จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

๒๕ พ.ย. ๕๖ รับฟังความคิดเห็นประชาชนเรื่องโครงการศึกษาและออกแบบรถไฟความเร็วสูง ที่จ.พระนครศรีอยุธยา

ผู้เขียน:  จรัญญา ศรีไพร จาก สำนักงานจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
เมื่อวันจันทร์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 เวลา 10:03 น.

 อ่าน 2,811

ในวันจันทร์ที่ 25 พฤศจิกายน 2556 เวลา 09.00 น. จะจัดให้มีการสัมมนารับฟังความคิดเห็นประชาชน ครั้งที่ 3 เรื่องโครงการศึกษาและออกแบบรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ระยะที่ 1 กรุงเทพฯ-พิษณุโลก ณ โรงแรมกรุงศรีริเวอร์  ซึ่งเมื่อครั้งที่ 2 ได้จัดไปเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2556 

 ดร. จุฬา  สุขมานพ  ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เป็นประธานในพิธีเปิดงาน  สัมมนา รับฟังความคิดเห็นประชาชน  เพื่อนำเสนอสาระสำคัญคือรูปแบบแนวเส้นทางเลือก พร้อมทั้งรับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะจากทุกภาคส่วน โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรธุรกิจเอกชน สถาบันการศึกษาในพื้นที่ หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ และภาคประชาชน จากจังหวัดปทุมธานี สระบุรี พระนครศรีอยุธยา และกรุงเทพมหานครเข้าร่วมการสัมมนา

แนวเส้นทางเลือกการพัฒนารถไฟความเร็วสูง สายกรุงเทพ ฯ – เชียงใหม่ ประกอบด้วย 5 ทางเลือก คือ
-  แนวทางเลือกที่ 1 ขนานไปตามแนวรถไฟเดิม จากสถานีกลางบางซื่อ ผ่าน จ.ปทุมธานี จ.พระนครศรีอยุธยา จ.ลพบุรี จ.นครสวรรค์ จ.พิจิตร จ.พิษณุโลก จ.อุตรดิตถ์ จ.ลำปาง จ.ลำพูน และสิ้นสุดที่ จ.เชียงใหม่ ระยะทางประมาณ 677 กม. 
แนวทางเลือกที่ 2 ขนานไปตามแนวรถไฟเดิมเหมือนกับแนวทางเลือกที่ 1 จนถึง จ.พระนครศรีอยุธยา แล้วใช้แนวเส้นทางใหม่ไปทางฝั่งตะวันตกไปบรรจบกับแนวเส้นทางรถไฟสายเดิมที่ อ.พยุหะคีรี เข้าสู่ จ.นครสวรรค์ จนถึงสถานีปากน้ำโพใช้แนวเส้นทางใหม่  ไปถึง อ.บางกระทุ่ม จ.พิษณุโลก จากนั้นตัดเข้าแนวรถไฟเดิม มุ่งสู่ อ.เมืองพิษณุโลก แล้วใช้แนวเส้นทางใหม่ด้านทิศตะวันตก มุ่งไป  อ.ศรีสัชชนาลัย จ.สุโขทัย และบรรจบกับแนวเส้นทางรถไฟสายเดิมที่ ต.กล้วยแพะ อ.เมือง จ.ลำปาง ผ่าน จ.ลำพูน และสิ้นสุดที่ จ.เชียงใหม่ ระยะทางประมาณ 639 กม. 
แนวทางเลือกที่ 3 ใช้แนวเส้นทางเหมือนทางเลือกที่ 2 จนถึง  อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์ จะใช้แนวเส้นทางใหม่ออกไปทางด้านทิศตะวันตกของ จ.นครสวรรค์ ผ่าน อ.บรรพตพิสัย จ.นครสวรรค์ อ.ไทรงาม       จ.กำแพงเพชร และมาบรรจบกับแนวทางเลือกที่ 2 ที่ อ.เมือง จ.สุโขทัย ระยะทางประมาณ 610 กม. 
แนวทางเลือกที่ 4  ขนานไปตามแนวรถไฟเดิมจนถึงวงแหวนรอบนอกฝั่งตะวันออกทางพิเศษหมายเลข 9 จากนั้นเบี่ยงออกไปทางทิศตะวันตกของตัวเมืองพระนครศรีอยุธยา ผ่าน  จ.อ่างทอง จ.สิงห์บุรี จ.ชัยนาท จ.อุทัยธานี จ.นครสวรรค์ แล้วขึ้นเหนือตัดไป จ.สุโขทัย แล้วเบนออกไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ    เข้าสู่ อ.สบปราบ อ.เสริมงาม จ.ลำปาง ผ่าน จ.ลำพูน ไปสิ้นสุดที่ อ.สารภี จ.เชียงใหม่ ระยะทางประมาณ 597 กม.
แนวทางเลือกที่ 5 ช่วงบางซื่อ-พิษณุโลก ใช้แนวเส้นทางเหมือนทางเลือกที่ 1 และช่วงพิษณุโลก-เชียงใหม่ ใช้แนวเส้นทางเหมือนทางเลือกที่ 2 ระยะทางประมาณ 669 กม.

           การคัดเลือกแนวเส้นทางจะคำนึงถึงผลประโยชน์ของประชาชนและประเทศชาติเป็นหลัก ควบคู่กับการพิจารณาความเหมาะสมทั้งทางด้านวิศวกรรม เศรษฐกิจและการเงิน และสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จ.พระนครศรีอยุธยา ที่เป็นเมืองแห่งการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมที่สำคัญ เมื่อมีการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูง จะช่วยขับเคลื่อนเมืองมรดกโลกสู่การเป็นเมืองท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์วัฒนธรรมที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของประเทศต่อไป
         
ในการดำเนินงานโครงการ ฯ ยังได้กำหนดมาตรการป้องกันและลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่สำคัญ อาทิ ด้านการแบ่งแยกชุมชนจากการกั้นรั้ว จัดให้มีทางเชื่อมหรือทางลอดในระยะที่เหมาะสมสอดคล้องกับการใช้งานและความต้องการของประชาชนในพื้นที่โครงการ ฯ  ด้านการชดเชยที่ดินและทรัพย์สิน กำหนดให้ดำเนินการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินและชดเชยทรัพย์สินตลอดแนวเส้นทางโครงการตามขั้นตอนของกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นธรรม เป็นต้น   ซึ่งที่ผ่านมา  สนข.ได้ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน  โดยได้จัดให้มีการสัมมนาในอีก 2 จังหวัดด้วยกันคือ จังหวัดนครสวรรค์ เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2556 ณ โรงแรมพิมานและจังหวัดพิษณุโลกเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2556 ณ โรงแรมอมรินทร์ ลากูน เพื่อรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากประชาชนอย่างครอบคลุมและทั่วถึง เป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างครบถ้วน

      ดูวีดีโอสัมมนา ครั้งที2


คำค้นหา
 
comments powered by Disqus
ข่าวในประเภทประชาสัมพันธ์
ข่าวโดยสำนักงานจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ข่าวล่าสุด
สนใจมากสุดในรอบเดือน
เข้าชมล่าสุด