logo
leftim upim rightim upimupim
lineim
วัด
พระที่นั่ง
พระราชวังหลวง
พิพิธภัณฑ์
โบราณสถานในเกาะบางปะอิน
ศูนย์ศิลปาชีพ/ศูนย์ศึกษาฯ
สวนสาธารณะ
หมู่บ้านนานาชาติ
พระราชานุสาวรีย์/อนุสรณ์สถาน
ตลาดบก / ตลาดน้ำ
ร้านของฝากของที่ระลึก
อื่นๆ
 
 แผนที่ท่องเที่ยว
 ปฏิทินท่องเที่ยวประจำปี
สกู๊ปวีดีโอท่องเที่ยว/กิจกรรม
 เทศกาลประเพณี
 สถานที่พัก
 ร้านอาหาร
ผลิตภัณฑ์ OTOP ประจำอำเภอ
 การเดินทาง
lineim
ศาลหลักเมือง  

 

 

พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาหลายฉบับกล่าวความต้องกันว่า
สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 ( พระเจ้าอู่ทอง) ทรงสถาปนากรุงศรีอยุธยา
เมื่อวันศุกร์ ขึ้น 6 ค่ำ เดือน 5 พุทธศักราช 1893 ชีพ่อพราหมณ์
ให้ฤกษ์ตั้งพิธีกลบบัตร ได้สังข์ทักษิณาวัฎใต้ต้นหมัน ใบหนึ่ง
สันนิษฐานว่าได้มีการสถาปนาหลักเมืองขึ้นในคราวเดียวกัน
แต่ได้ปรักพังสูญไป ในคราวพุทธศักราช 2310
และมิได้สถาปนาใหม่ในสมัยกรุงธนบุรี ที่ตั้งของหลักเมืองเดิมนั้น
จากหลักฐานเอกสารทางประวัติศาสตร์ และหลักฐาน
จากการขุดค้นทางโบราณคดีบ่งว่า ตั้งอยู่ใกล้กับศาลพระกาฬ
และสี่แยกตะแลงแกง เนื่องในมหามงคลสมัยสมโภช
กรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี พุทธศักราช 2525 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ได้ดำริให้สร้างศาลหลักเมืองขึ้นใหม่ เพื่อเป็นสิริมงคลตามประเพณ
ีโบราณที่ปฏิบัติสืบทอดกันมา

คุ้มขุนแผน  

 

ตั้งอยู่ที่ถนนป่าโทน เป็นตัวอย่างของหมู่เรือนไทยภาคกลาง
 ในรูปแบบเรือนคหบดีไทยสมัยโบราณ เดิมเป็นจวนสมุหเทศาภิบาล
มณฑลกรุงเก่า พลตรีพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมขุนมรุพงศ์สิริพัฒน์
ทรงสร้างขึ้นในปีพ.ศ.2437 ที่เกาะลอยบริเวณสะพานเกลือ
ซึ่งอยู่ตรงข้ามกับที่ว่าการมณฑล ต่อมาในราวปีพ.ศ. 2483
ปรีดีพนมยงค์นายรัฐบุรุษอาวุโส ได้ย้ายจวนหลังนี้มา
สร้างในบริเวณคุกนครบาลเก่า ของพระนครศรีอยุธยา
พร้อมทั้งสร้างเรือนไทยเพิ่มขึ้นอีกในปี พ.ศ.2499
และให้ชื่อเรือนไทยนี้ว่า คุ้มขุนแผน ซึ่งเชื่อกันว่าขุนแผนเคยต้องโทษอยู่ในคุกแห่งนี้
แผนที่
ท้องฟ้าจำลอง  

 

 

 

 

ท้องฟ้าจำลองแห่งนี้ได้รับอนุมัติให้ก่อสร้าง ได้ ส่วนหนึ่งคงเป็นผล สืบเนื่องจาก โครงการพัฒนาการเรียนการสอน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในสถาบันราชภัฏทั่วประเทศ
ทั้ง 36 แห่ง โครงการนี้กำหนดไว้
ระหว่างปีงบประมาณ 2536-2544 โดยจัดตั้งศูนย์วิทยาศาสตร์
และเทคโนโลยีขึ้นในสถาบันราชภัฏ มุ่งหวังที่จะพัฒนาการ
เรียนการสอน ส่งเสริมสนับสนุนงานวิจัย
ของนักศึกษาอาจารย์ของสถาบัน พร้อม ๆ
กับการพัฒนาปรับปรุงและเผยแพร่ความรู้ทางวิทยาศาสตร
์และเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับท้องถิ่นอยู่บริเวณด้านหลังอาคาร
ศูนย์ศึกษาประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา อำเภอพระนครศรีอยุธยา
มีการฉายดาวเรื่องระบบสุริยะ กลุ่มดาว นิทานดาว
การดูดาวเบื้องต้น และปรากฏการณ์ทางธรรมชาต
ินับได้ว่าเป็นท้องฟ้าจำลองแห่งที่ 2 ของประเทศไทย
รองจากท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ ฯ จัดฉายวันละ 2 รอบ
เวลา 11.00 และ 14.00 น
เปิดให้เข้าชมวันอังคาร-อาทิตย์ เวลา 08.00-16.30 น. 
อัตราค่าเข้าชม เด็ก 10 บาท ผู้ใหญ่ 20 บาท 
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 035-322076-9 ต่อ 5011

ป้อมเพชร  
ตั้งอยู่ใกล้กับ วัดสุวรรณดาราราม เป็นป้อมปราการป้อมเดียว
ที่ยังเหลืออยู่จากเดิมที่มีอยู่ 29 ป้อม รูปทรงป้อมแบบหกเหลี่ยม
ผนังก่อด้วยอิฐสลับด้วยศิลาแลง? มีช่องเชิงเทินก่อเป็นรูปโค้ง
ซึ่งเป็นที่ตั้งของปืนใหญ่ประจำป้อม สร้างในสมัย 
พระมหาจักรพรรดิ์
 (กษัตริย์องค์ที่15) เพื่อป้องกันข้าศึก
ที่จะมาทางน้ำ เป็นที่บรรจบระหว่างแม่น้ำป่าสักและแม่น้ำเจ้าพระยา
และเป็นท่าเรือสินค้าที่สำคัญในอดีต รวมทั้งเป็นย่านที่พักอาศัย
ของพ่อค้าชาวจีน ฮอลันดาและฝรั่งเศส
ป้อมเพชรตั้งอยู่ที่ ถนนอู่ทอง ตำบลหอรัตนไชย
อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ใกล้วัดพนัญเชิง
ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา  

ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาพระนครศรีอยุธยา 
 ตั้งอยู่ที่ เลขที่ 115 หมู่ที่6ถนนโรจนะ ตำบลไผ่ลิง 
อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 
จัดตั้งตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่
 8 พฤศจิกายน 2538 
ทำพิธีเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการเมื่อวันศุกร์ที่ 21 พฤษภาคม 2542
ให้ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม แก่นักเรียน
นักศึกษา ทั้งในและนอกระบบโรงเรียน และประชาชนในพื้นที่
มีการจัดกิจกรรมเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม
ป้อมประตูข้าวเปลือก  
เป็นป้อมปืนโบราณสร้างมาแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา
ตั้งอยู่หน้าวัดราชประดิษฐานเป็นป้อมที่ก่อด้วยอิฐ
สร้างเป็นเชิงเทินขนาบปากคลองประตูข้าวเปลือก
ซึ่งเป็นคลองที่บรรจบกับแม่น้ำลพบุรีเดิม
ตอนบนของป้อมก่อเป็นรูปใบเสมา
ด้านล่างมีช่องกุดก่อเป็นโค้ง ความสำคัญของป้อมประตูข้าวเปลือก
ในทางประวัติศาสตร์นั้น พงศาวดารกรุงศรีอยุธยา กล่าวไว้ว่า
ครั้งเมื่อใกล้สิ้นรัชกาลพระเจ้าท้ายสระ (กษัตริย์องค์ที่ 30)
เมื่อปี พ.ศ. 2275 พระองค์ได้มอบพระราชสมบัติให้แก่พระโอรส
คือ เจ้าฟ้าอภัย แต่ถูกทัดทาน
โดยกรมพระราชวังบวรสถานมงคล (พระเจ้าบรมโกศ พระอนุชา)
ต้องการให้เจ้าฟ้ากรมขุนสุเรนทรพิทักษ์เสวยราชแทนครั้นเจ้าฟ้าอภัย
ขึ้นเสวยราชสมบัติ พระเจ้าท้ายสระได้สั่งให้ขุนศรีคงยศ
ตั้งค่ายที่คลองประตูข้าวเปลือกแห่งนี้ หลังพระเจ้าท้ายสระสวรรคตลง
จึงได้เกิดศึกขึ้นระหว่างวังหลวงและวังหน้าโดยมีป้อมประตูข้าวเปลือก
นี้เป็นแนวรบป้อมประตูข้าวเปลือก ตั้งอยู่ที่ ถนนอู่ทอง ต.ท่าวาสุกรี
ีอำเภอพระนครศรีอยุธยาจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ต้นไม้อายุยืน  

 

 

 

 

bottomim bottomim rithim upimupim
spaceim
พัฒนาข้อมูลโดย:กลุ่มงานข้อมูลสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โทร/โทรสาร. 0-3533-5665 ต่อ 26