logo
leftim upim rightim upimupim
lineim
วั
พระที่นั่ง
พระราชวังหลวง
พิพิธภัณฑ์
โบราณสถานในเกาะบางปะอิน
ศูนย์ศิลปาชีพ/ศูนย์ศึกษาฯ
สวนสาธารณะ
หมู่บ้านโปรตุเกส /หมู่บ้านญี่ปุ่น
พระราชานุสาวรีย์/อนุสรณ์สถาน
ตลาดบก / ตลาดน้ำ
ร้านของฝากของที่ระลึก
อื่นๆ
 
 แผนที่ท่องเที่ยว
 ปฏิทินท่องเที่ยวประจำปี
สกู๊ปวีดีโอท่องเที่ยว/กิจกรรม
 เทศกาลประเพณี
 สถานที่พัก
 ร้านอาหาร
ผลิตภัณฑ์ OTOP ประจำอำเภอ
 การเดินทาง
lineim
วัดเจ้าพญาไท
หรือ วัดใหญ่ไชยมงคล

 

 

 

สร้างเมื่อ พ.ศ.1900 พระเจ้าอู่ทองทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ปลงศพเจ้าแก้วเจ้าไทย ที่ปลงศพนั้นให้สถาปนาพระเจดีย์และวิหารเป็นพระอารามชื่อวัดป่าแก้ว และโปรดเกล้าฯให้เป็น สำนักสงฆ์เรียกคณะป่าแก้ว ปฎิบัติทางวิปัสสนาธุระต่อมาได้ขนาดนามว่า วัดเจ้าพระยาไทยเพราะเป็นที่สถิตของสมเด็จพระวันรัตพระสังฆราช ฝ่ายขวาซึ่งใน สมัยโบราณเรียกพระสงฆ์ว่า เจ้าไทย ครั้งแผ่นดินสมเด็จพระนเรศวรมหาราชพ.ศ.2135 ทรงได้ชัยชนะใน การทำยุทธหัตถี สมเด็จพระวันรัตวัดป่าแก้วซึ่งขอพระราชทานอภัยโทษแก่นายทัพนายกองที่ตามเสด็จไม่ทันได้กราบบังคมทูลให้ทรงสร้างพระเจดีย์ใหญ่เฉลิม พระเกียรติที่ตำบลหนองสาหร่ายจังหวัดสุพรรณบุรี และที่วัดเจ้าพระยาไทยให้เป็นคู่กับเจดีย์ภูเขาทองที่พระเจ้าหงสาวดีสร้างไว้ พระเจดีย์นี้มีขนาดสูงใหญ่ทรง ระฆัง (ปัจจุบันสูงประมาณ 60 เมตร) ขนาดนามว่าพระเจดีย์ชัยมงคลแต่เรียกเป็นชื่อสามัญว่าพระเจดีย์ใหญ่ต่อมาจึงเรียกชื่อวัดนี้อีกชื่อหนึ่งว่า วัดใหญ่ชัยมงคลแผนที่
วัดใหญ่ชัยมงคลตั้งอยู่ที่ ถนนทางหลวง 3059 ต.คลองสวนพลู อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา

วัดกษัตราธิราชวรวิหาร

วัดกษัตราธิราชวรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหารตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก ตำบลบ้านป้อม อำเภอพระนครศรีอยุธยาเป็นวัดโบราณ ปรากฏหลักฐานมีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เดิมชื่อ " วัดกระษัตรา" โดยความหมายของวัดสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นวัดของพระมหากษัตริย์ในตำบล ที่ตั้งป้อมจำปาพล นอกพระนครฝั่งตะวันตก ส่วนด้านหลังวัดมีทุ่งกว้างเรียกว่า "ทุ่งประเชต"ซึ่งเป็นที่ตั้งกองทัพพม่าในการเข้าโจมตีกรุงศีอยุธยาหลายครั้งก่อนการเสียกรุงศรีอยุธยาในปี พ.ศ.2310
วัดกษัตราธิราช ตั้งอยู่ที่ ถนนทางหลวง 3469 ตำบลบ้านป้อม อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา แผนที่

วัดภูเขาทอง

สมเด็จพระราเมศวรทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างวัดภูเขาทองเมื่อ พ.ศ. 1930 ณทุ่งฝั่งตะวันออกทางด้านเหนือ ห่างจากพระราชวังไปประมาณ 2 กิโลเมตร ต่อมาในพ.ศ. 2212 พระเจ้าหงสาวดีมีชัยชนะต่อกรุงศรีอยุธยา จึงโปรดเกล้าฯให้สร้างเจดีย์ใหญ่ขึ้น ที่วัดนี้ เพื่อเฉลิมพระเกียรติครั้นรัชสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศทรงโปรดเกล้าฯให้ปฏิสังขรพระอารามและ พระเจดีย์ใหญ่ซึ่ง หักพังลงมาก่อนหน้าแล้วแต่ทรงให้เปลี่ยนรูป เจดีย์ทำเป็นรูปย่อเหลี่ยมไม้สิบสอง
วัดภูเขาทองตั้งอยู่ที่ ถนน ยธ. อย. 22255 ตำบลภูเขาทอง อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา แผนที่

วัดนิเวศธรรมประวัติ

ที่ตั้งของวัดนิเวศธรรมประวัติเป็นเกาะกลางแม่น้ำเจ้าพระยาอยู่ตรงกับพระราชวัง บางปะอิน พระอุโบสถวัดนิเวศธรรมประวัติ คือโบสถ์ฝรั่งแต่เป็นโบสถ์ฝรั่งแบบเก่าๆ ที่พบเห็นได้ทั่วไปในยุโรป แผนที่

วัดราชบูรณะ

วัดราชบูรณะตั้งอยู่ข้างวัดมหาธาตุ สร้างขึ้นใน สมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 ( เจ้าสมพระยา) เมื่อ พ.ศ.1967 ตรงบริเวณถวายพระเพลิงศพเจ้าอ้ายพระยา และเจ้ายี่พระยา พระเชษฐาของพระองค์ ซึ่งทรงกระทำยุทธหัตถีแย่งชิงราชสมบัติจนสิ้นพระชนม์ สถานที่กระทำยุทธหัตถีเชิงสะพานป่าถ่าน อันเป็นจุดกึ่งกลางวัดมหาธาตุและวัดราชบูรณะ ก็โปรดเกล้าฯ ให้สร้างเจดีย์ขึ้น 2 องค์
วัดราชบูรณะตั้งอยู่ที่ ถนนนเรศวร ตำบลท่าวาสุกรี อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ตรงข้ามวัดมหาธาตุ แผนที่

วัดพระราม
 

สมเด็จพระราเมศวร โปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาวัดพระรามขึ้นตรงบริเวณที่ถวายพระเพลิงพระบรมศพสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 ( พระเจ้าอู่ทอง) พระราชบิดา เมื่อ พ.ศ.1912 ต่อมาได้มีการปฏิสังขรณ์วัดนี้ในสมัยสมเด็จ พระบรมไตร โลกนาถและอีกครั้งหนึ่งในสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ สถาปัตยกรรมส่วนใหญ่จึงเป็นฝีมือช่างสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ในปัจจุบันวัดพระรามอยู่ติดกับบึงพระราม ซึ่งเดิมเรียกว่า หนองโสนใกล้กับพระอนุสาวรีย์สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 ( พระเจ้าอู่ทอง) และอยู่ทางทิศตะวันออกของวิหารพระมงคลบพิตร
วัดพระรามตั้งอยู่ที่ถนนนเรศวร ตำบลประตูชัย อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ตรงข้ามวัดมงคลบพิตร แผนที่

วัดธรรมิกราช
 
อยู่ทางด้านทิศตะวันออกของพระราชวังหลวง ตามตำนานกล่าวว่าพระยาธรรมิกราช พระราชบุตรพระเจ้าสายน้ำผึ้ง ได้เสวยราชย์และสร้างวัดมุขราช ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยน ชื่อตามผู้สร้างเป็นวัดธรรมิกราชไม่พบหลักฐานว่าสร้างในปีใด แต่คงจะเป็นวัดเก่าแก่ สมัยเดียวกับวัดพนัญเชิง เป็นวัดที่ตั้งอยู่ติดขอบเขต กำแพงพระราชวังหลวง ซึ่งต่อมายกเป็นวัดพระศรีสรรเพชญ์ ภายในวัดมีวิหารทรงธรรมซึ่งมีขนาดใหญ่มากตั้งอยู่บนเนินสูง เคยเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปสำคัญที่มีขนาดใหญ่เป็นพระพุทธรูปสัมฤทธิ์สมัย อู่ทองที่งดงามมากปัจจุบันเหลือเพียงพระเศียร และเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
วัดธรรมิกราช ตั้งอยู่ที่ ถ.อู่ทอง ต.ท่าวาสุกรี อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา แผนที่
วัดสมณโกฏฐาราม  
วัดสมณโกฏฐาราม จ.พระนครศรีอยุธยาหรือ วัดพระยาคลัง ปัจจุบันเป็นวัดที่มีพระสงฆ์จำพรรษาอยู่ สร้างในสมัยอยุธยาตอนต้น และบูรณปฏิสังขรณ์ในสมัยอยุธยาตอนปลาย โดย เจ้าพระยาโกษาธิบดี (เหล็ก) และ เจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน) ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ (กษัตริย์องค์ที่ 27) ต่อมาในปี พ.ศ. 2233 สมัยสมเด็จพระเพทราชา (กษัตริย์องค์ที่ 28) ได้เสด็จพระราชทานเพลิงศพเจ้าแม่ดุสิต มารดาของเจ้าพระยาโกษาธิบดี (เหล็ก) และเจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน) และเป็นพระนมของสมเด็จพระนารายณ์ ณ วัดแห่งนี้ อีกทั้งยังเป็นวัดที่ สมเด็จพระเจ้าตากสิน ได้เคยทรงอุปสมบทเป็นพระภิกษุอีกด้วย
วัดสมณโกฎฐาราม ตั้งอยู่ที่ ถนนทางหลวง 3058 ตำบลหันตรา อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา แผนที่
วัดดุสิดาราม  

สร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตอนกลาง ราวปี พ.ศ. 2100 ต่อมาได้มีการบูรณะในสมัยอยุธยาตอนปลายวัดดุสิตารามมีความเกี่ยวข้องทางประวัติศาสตร์คือ เป็นวัดที่เจ้าแม่วัดดุสิตพระสนมของสมเด็จพระนารายณ์ (กษัตริย์องค์ที่ 27)และเป็นมารดาของเจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน) และเจ้าพระยาโกษาธิบดี (เหล็ก) ได้บุรณะปฏิสังขรณ์ และเป็นวัดทีมีที่ตั้งใกล้กับตำหนักเจ้าแม่วัดดุสิต ซึ่งเป็นตำหนักที่สมเด็จพระนารายณ์โปรดเกล้าฯ ให้สร้างเพื่อเป็นที่พำนักแก่พระสนมของพระองค์
จุดสนใจภายในวัดดุสิตาราม ประกอบด้วย
- เจดีย์ประธาน เป็นเจดีย์ทรงระฆัง ศิลปะสมัยอยุธยาตอนกลาง ลักษณะคล้ายเจดีย์วัดใหญ่ไชยมงคล
- พระอุโบสถเป็นพระอุโบสถสมัยอยุธยาตอนปลายตั้งอยู่บนฐานที่แอ่นโค้งแบบเรือสำเภา


 

 

bottomim bottomim rithim upimupim
spaceim
พัฒนาข้อมูลโดย:กลุ่มงานข้อมูลสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โทร/โทรสาร. 0-3533-5665 ต่อ 26