สสจ.กรุงเก่า : “ร่วมสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัย สงกรานต์ทั่วไทยไร้อุบัติเหตุ”เว็บไซต์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ภาพ logo website จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

สสจ.กรุงเก่า : “ร่วมสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัย สงกรานต์ทั่วไทยไร้อุบัติเหตุ”

ผู้เขียน:  พัชรี วงษ์บัวทอง จาก สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2557 เวลา 11:17 น.

 อ่าน 2,399

นพ.พิทยา ไพบูลย์ศิริ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดพระนครศรีอยุธยา กล่าวว่า วันสงกรานต์เป็นเทศกาลสืบสานประเพณีไทย เทศกาลแห่งความสุข ความรื่นเริง และเป็นช่วงเวลาที่ได้เดินทางไปพบปะสังสรรค์กันระหว่างคนในครอบครัว ญาติ หรือเพื่อน ซึ่งมีวันหยุดติดต่อกันหลายวัน อย่างไรก็ตามในการเฉลิมฉลองของเทศกาลแห่งความสุขยังคงมีความเชื่อที่ผิดๆ ที่ต้องสังสรรค์กันด้วยสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการเกิดอุบัติเหตุในระหว่างการเดินทาง ส่งผลให้สูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุบัติเหตุจากการจราจรทางบก มีสาเหตุมาจากการดื่มสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในขณะขับขี่มากที่สุด

จากสถิติอุบัติเหตุจราจรทางบกในช่วงเทศกาลปีใหม่ และสงกรานต์ ช่วง 7 วันอันตราย อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นทั้งหมด   จากการรวบรวมข้อมูลของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย  เทศกาลสงกรานต์ปี 2556  เกิดขึ้น 2,828 ครั้ง ลดลงจากปี 2555  9.62% มีผู้เสียชีวิต 321 คน เพิ่มขึ้นจากปี 2555  0.31% และมีผู้บาดเจ็บ 3,030 คน ลดลงจากปี 2555  8.73% ประเภทรถที่เกิดอุบัติเหตุสูง ได้แก่ รถจักรยานยนต์

คณะกรรมการศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ ปี 2557
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เห็นควรว่าจะเปลี่ยนมาตรการในการคุมเข้มไปที่รถมอเตอร์ไซค์ เพราะจากสถิติสงกรานต์ที่ผ่านมาผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุรถมอเตอร์ไซค์ และผู้บาดเจ็บจากรถมอเตอร์ไซค์เช่นกัน โดยตั้งเป้าว่า เสียชีวิตไม่เกิน 7 คน บาดเจ็บไม่เกิน 41 คน และอุบัติเหตุเกิดขึ้นไม่เกิน 38 ครั้ง

นพ.พิทยา กล่าวต่อว่า เพื่อเป็นการป้องกันและลดอุบัติเหตุที่จะเกิดขึ้น และ “ร่วมสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัย สงกรานต์ทั่วไทยไร้อุบัติเหตุ” ประชาชนควรร่วมรณรงค์ปฏิบัติตามหลัก 3ม 2ข 1ร คือ 3ม คือ 1.เมาไม่ขับ  2.สวมหมวกนิรภัย 3.มอเตอร์ไซด์ปลอดภัย 2ข คือ 1.ใบขับขี่  2.คาดเข็มขัดนิรภัย 1ร คือ ขับรถเร็วไม่เกินที่กฎหมายกำหนด หรือหากพบเห็นอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นบนท้องถนน สามารถให้ความช่วยเหลือ
ผู้ประสบเหตุด้วยการแจ้งไปที่ สายด่วน 1669 ที่ให้บริการผู้ป่วยอุบัติเหตุเจ็บป่วยฉุกเฉิน ณ จุดเกิดเหตุ (ผู้ป่วยฉุกเฉินได้แก่ หมดสติ,หยุดหายใจ,หัวใจหยุดเต้น,เจ็บหน้าอกรุนแรง,เจ็บครรภ์ใกล้คลอด,กินยาเกินขนาด,กินสารพิษ,ชักเกร็ง ชักกระตุก,ตกเลือด,ไข้สูง) และมีการเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บส่งต่อไปยังโรงพยาบาลที่เหมาะสม โดยบุคลากรที่มีความรู้ ทักษะ และอุปกรณ์ช่วยชีวิตที่ครบครัน พร้อมออกให้บริการตลอด
24 ชั่วโมง ฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย กรุณาเตรียมตอบคำถาม เมื่อท่านต้องการความช่วยเหลือฉุกเฉินดังต่อไปนี้
1.สถานที่เกิดเหตุ 2.เกิดอะไรขึ้น 3.อาการของผู้บาดเจ็บ 4.อายุ เพศ และจำนวนของผู้บาดเจ็บ
5.มีอาการรู้สึกตัวดี ถามตอบรู้เรื่อง หลับแล้วปลุกตื่น หรือหมดสติ หายใจปกติหรือไม่ 6.หมายเลขโทรศัพท์ที่สามารถติดต่อกลับได้


คำค้นหา
 
comments powered by Disqus
ข่าวในประเภทประชาสัมพันธ์
ข่าวโดยสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ข่าวล่าสุด
สนใจมากสุดในรอบเดือน
เข้าชมล่าสุด