การจัดการแก้ไขปัญหาภัยแล้งจังหวัดพระนครศรีอยุธยาเว็บไซต์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ภาพ logo website จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

การจัดการแก้ไขปัญหาภัยแล้งจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ผู้เขียน:  นพพร แสงสร้อย จาก ผู้ดูแลระบบ
ปรับปรุงเนื้อหาสุดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 23 กรกฏาคม พ.ศ. 2558 เวลา 09:05 น.

 อ่าน 8,857

             จากการที่กรมชลประทานประกาศ งดส่งน้ำเพื่อการเพาะปลูกข้าวนาปีและข้าวนาปรังในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ตั้งแต่บัดนี้ถึงวันที่ 30 เมษายน 2558 สาเหตุเพราะทั่วทุกภาคของประเทศมีปริมาณฝนน้อยกว่าค่าเฉลี่ย ในส่วนของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้จัดทำแผนเตรียมความพร้อมเพื่อแก้ไขปัญหาภัยแล้งไว้เรียบร้อยแล้ว โดยกำหนดโซนนิ่งทำการเกษตรของเกษตรกรของแต่ละลุ่มน้ำ โดยจำแนกพื้นที่ออกเป็นสีส้ม เป็นพื้นที่นาปียังไม่ได้เก็บเกี่ยว สีแดง เป็นพื้นที่นาข้าวเริ่มปลูกใหม่ และสีชมพู เป็นพื้นที่นาข้าวยังไม่ได้ปลูกและมีน้ำท่วมขังแปลงนา รวมทั้งสิ้นเกือบ 8 แสนไร่            

จังหวัดพระนครศรีอยุธยาได้สำรวจข้อมูลในภาพรวมทั้ง 16 อำเภอ ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยสำรวจจำนวนพื้นที่ยืนต้นข้าวนาปรัง (ไร่) ข้าวนาปี (ไร่) และนำข้อมูลมาประเมินปริมาณผลผลิตข้าวเปลือก (ตัน) ที่คาดว่าจะออกสู่ตลาด เพื่อให้สอดคล้องกับปริมาณน้ำที่กรมชลประทานปล่อยลงมา

           ได้แต่งตั้ง คณะกรรมการศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้งจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และคณะทำงานกำกับดูแลการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้งระดับลุ่มน้ำ  เพื่อทำหน้าที่ให้นโยบาย กำกับ ติดตาม เฝ้าระวัง และแก้ไขปัญหาจากผลกระทบภัยแล้ง โดยแจ้งอำเภอทุกอำเภอนำไปชี้แจงและสร้างการรับรู้ให้ประชาชนในพื้นที่ทราบ เพื่อเตรียมพร้อมรองรับสถานการณ์การ ขาดแคลนน้ำในพื้นที่เกษตรกรรม และรับฟังปัญหาจากประชาชนในพื้นที่ หากสามารถแก้ไขได้ให้ดำเนินการทันที หากปัญหานั้นเกินความสามารถให้รายงานให้จังหวัดทราบ เพื่อแก้ไขปัญหาต่อไป 

            - การคาดการณ์แนวโน้มสถานการณ์ภัยแล้ง จากหน่วยงานโครงการชลประทานพระนครศรีอยุธย  อุตุนิยมวิทยา และ เกษตรจังหวัด จะรายงานให้คณะกรรมการทราบโดยสม่ำเสมอ      

           นอกจากนี้  ยังจัดให้มีคำสั่งกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่ ๑/๒๕๕๘  แต่งตั้งประธานคณะทำงานตามยุทธศาสตร์การเตรียมการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้งจังหวัดพระนครศรีอยุธยา  และจัดให้มีการติดตามผลการดำเนินงานของคณะทำงานตามยุทธศาสตร์การเตรียมการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้งจังหวัดพระนครศรีอยุธยา  เป็นระยะอย่างต่อเนื่อง  ประกอบด้วย ๕ ยุทธศาสตร์ ได้แก่
          ๑
.ยุทธศาสตร์พัฒนาฐานข้อมูล (เกษตรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา)
          ๒.ยุทธศาสตร์กำหนดพื้นที่ (เกษตรและสหกรณ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา)
          ๓.ยุทธศาสตร์เพิ่มศักยภาพการใช้น้ำ (ผู้อำนวยการโครงการชลประทานพระนครศรีอยุธยา)
          ๔.ยุทธศาสตร์ปรับเปลี่ยนวิธีการผลิต (เกษตรและสหกรณ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา)
          ๕.ยุทธศาสตร์มาตรการเสริม (ปลัดจังหวัดพระนครศรีอยุธยา)   

     มาตรการในการปรับเปลี่ยนวิธีการผลิต ได้แนะนำให้เกษตรกรเข้าร่วมกิจกรรมตามมาตรการหลัก มาตรการเสริม และการปรับเปลี่ยนวิธีการผลิต โดยบริหารจัดการแผนงาน โครงการตามยุทธศาสตร์จังหวัดและกลุ่มจังหวัด เพื่อเป็นการส่งเสริมสนับสนุนและช่วยเหลือเกษตรกรที่ไม่สามารถเพาะปลูกข้าวนาปรังได้ตามปกติ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :

เปิดประตูน้ำเข้าทุ่งเจ้าเจ็ดโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาผักไห่ขึ้น 60 ซ.ม. ช่วยเหลือเกษตรกรที่ทำนา

การดำเนินการแก้ไขปัญหาและช่วยเหลือเกษตรกรสถานการณ์ฝนทิ้งช่วง
ชะลอการเพาะปลูกข้าวนาปีในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา และใช้น้ำอย่างประหยัด

สรุปการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร วันที่ 29 พฤษภาคม 2558

รณรงค์การงดปลูกข้าวนาปรังในช่วงฤดูแล้ง

หนังสือจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่อย 0006/ว4283 เรื่องรณรงค์การงดปลูกข้าวในช่วงฤดูแล้ง

เตือนชาวอยุธยา งดทำนาปรัง แล้งนี้


คำค้นหา
 
comments powered by Disqus
ข่าวโดยผู้ดูแลระบบ
ข่าวล่าสุด
สนใจมากสุดในรอบเดือน
เข้าชมล่าสุด