อ่าน 2,790
ค่าแรงในประเทศอาเซียน
หากเปรียบเทียบกับประเทศในภูมิภาคอาเซียน จะพบว่า ค่าแรงขั้นต่ำของไทยสูงเป็นอันดับ 3 หากเปรียบเทียบค่าแรงขั้นต่ำในภูมิภาคอาเซียน พบว่า ไทยมีค่าแรงขั้นต่ำสูงเป็นอันดับ 3 โดยอันดับแรก เป็นสิงคโปร์ มีค่าแรงสูงสุดที่วันละ 2,000 บาท
รองลงมาเป็นบรูไน ค่าแรงอยู่ที่วันละ 1,800 บาท ซึ่งค่าแรงของสองประเทศนี้ประเมินจากค่าแรง โดยเฉลี่ยของแรงงานไร้ฝีมือในประเทศ เพราะไม่มีค่าแรงขั้นต่ำ
อันดับ 3 คือ ไทย และฟิลิปปินส์ ที่มีค่าแรงขั้นต่ำเท่ากันที่ 300 บาทต่อวัน
อันดับ 4 เป็น มาเลเซีย วันละ 270 บาท ซึ่งค่าแรงของมาเลเซีย ขึ้นอยู่กับแต่ละพื้นที่
อินโดนีเซียมีค่าแรงขั้นต่ำวันละ 230 บาท สูงเป็นอันดับ 5
ส่วนประเทศที่เหลือก็มีอัตราค่าแรงขั้นต่ำลดหลั่นกันไป โดยประเทศที่มีค่าแรงขั้นต่ำต่อวันถูกที่สุดคือ กัมพูชา วันละ 75 บาท
ค่าแรงขั้นต่ำของไทย ประกาศใช้มาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2556 แม้ว่าจะไม่ได้เป็นอัตราที่สูงที่สุดในภูมิภาค แต่ก็นับเป็นการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำที่มากที่สุดเป็นอันดับต้นๆ ของโลก เพราะในช่วงปี 2546-2553 ค่าจ้างเฉลี่ยแรงงานภาคเอกชนปรับเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 3 ต่อปีเท่านั้น โดยในปี 2553 ค่าจ้างเฉลี่ยแรงงานภาคเอกชนอยู่ที่ 328 บาทต่อวัน แต่หลังจากใช้นโยบายขึ้นค่าแรงขั้นต่ำวันละ 300 บาท ได้ส่งผลให้ค่าจ้างโดยเฉลี่ยแรงงานภาคเอกชนเพิ่มขึ้นทุกปี จนถึงปี 2556 ที่ใช้ค่าแรงขั้นต่ำวันละ 300 บาทต่อวันทั่วประเทศ ค่าจ้างโดยเฉลี่ยแรงงานภาคเอกชนเพิ่มขึ้นไปอยู่ที่วันละ 456 บาท หรือเฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 12 ต่อปี
กลายเป็นต้นทุนที่เพิ่มขึ้นของผู้ประกอบการ โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมกลุ่มสิ่งทอ ที่ใช้แรงงานจำนวนมาก ข้อมูลจากสำนักเศรษฐกิจการแรงงาน สำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน ระบุว่า กลุ่มสิ่งทอจะมีต้นทุนรวมเพิ่มขึ้นมากที่สุดร้อยละ 13.87-22.75 รองลงมาเป็นเครื่องแต่งกาย และเครื่องหนัง
โดย : www.thairath.co.th วันที่ 11 มิถุนายน 2558
คำค้นหา