ประวัติศาสตร์สิงคโปร์เว็บไซต์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ภาพ logo website จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ประวัติศาสตร์สิงคโปร์

ผู้เขียน:  นักวิชาการพาณิชย์ปฏิบัติการ สพจ.อย. จาก สำนักงานพาณิชย์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
เมื่อวันพุธที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 เวลา 15:29 น.

 อ่าน 9,864

ประวัติศาสตร์สิงคโปร์

          ตั้งแต่ ศตวรรษที่ 3 ชาวจีนค้นพบ และเรียกสิงคโปร์ว่า "พู เลา ซุง" (เกาะปลายคาบสมุทร) จนในศตวรรษที่ 14 สิงคโปร์ถูกผนวกเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรศรีวิชัย (Sri Vijayan Empire) หลังจากชนะสงครามแย่งชิงแหลมมลายูตอนล่างจากสยาม และรู้จักกันในชื่อของเทมาเส็ก (Temasek: เมืองแห่งทะเล) และในช่วงศตวรรษที่ 14 นี้เอง เจ้าชายแห่งศรีวิชัยออกล่าสัตว์บนเกาะ และมองเห็นสัตว์ตัวหนึ่งแต่เข้าใจผิดคิดว่าเป็นสิงห์โต จึงตั้งชื่อเมืองใหม่ว่า "สิงหปุระ" หรือ "เมืองสิงห์โต" และอยู่ภายใต้การปกครองของกษัตริย์ถึง 5 พระองค์

          สิงคโปร์ ตั้งอยู่ตรงปลายแหลมมลายู จึงเป็นจุดนัดพบทางธรรมชาติของเส้นทางเดินเรือ เกาะแหงนี้จึงกลายเป็นจุดแวะพักของเรือเดินสมุทรหลายประเภท ตั้งแต่เรือสำเภาจีน เรืออินเดีย เรือใบอาหรับ และเรือรบของโปรตุเกส ไปจนถึงเรือใบบูจินีส

             ความ สำคัญที่เป็นเมืองท่านี้ สำคัญยิ่งขึ้นเมื่อพ่อค้าอังกฤษต้องการหาจุดเมืองท่าที่เป็นจุดยุทธศาสตร์ ที่ต้องแข่งขันกับฮอลันดา ซึ่งเข้ามามีอิทธิพลในแถบหมู่เกาะโมลุกะหรือหมู่เกาะเครื่องเทศนี้ก่อน อังกฤษ

         หลัง จากการสำรวจเกาะ และดูชาวเกาะที่อาศัยในแถบนั้นแล้ว เซอร์ โทมัส สแตมฟอร์ด แรฟเฟิลส์ (Sir Thomas Stamford Bingley Raffles) ได้เข้าตั้งฐานในสิงคโปร์ในปี พ.ศ. 2362 โดยอังกฤษได้ขอเช่าเกาะสิงคโปร์จากสุลต่านยะโฮร์ ซึ่งอยู่ภายใต้การปกครองของฮอลันดาในปี พ.ศ.2367 อังกฤษมีสิทธิครอบครองสิงคโปร์ตามข้อตกลงที่ทำกับฮอลันดา โดยเกาะต่างๆ ทางใต้ของสิงคโปร์ รวมทั้งชวาและสุมาตรายังคงเป็นของฮอลันดา ส่วนสิงคโปร์และคาบสมุทรอยู่ในอิทธิพลของอังกฤษ

            ตั้งแต่ ในปี พ.ศ.2369 สิงคโปร์ถูกปกครองโดยระบบหน่วยบริหารปกครองหน่วยเดียว (Straits Settlement) ซึ่งควบคุมดูแลสิงคโปร์ ปีนังและมะละกา โดยบริษัทอินเดียตะวันตกออกของอังกฤษ และปี พ.ศ.2375 สิงคโปร์ได้กลายเป็นศูนย์กลางของหน่วยบริหารปกครองหน่วยเดียว (Straits Settlement) ที่ครอบคลุมถึงปีนัง มะละกา ทั้งการเปิดคลองซุเอซในปี พ.ศ.2412 และการเข้ามาของเครื่องโทรเลขและเรือกลไฟทำให้ความสำคัญของสิงคโปร์เพิ่ม ขึ้นจนกลายเป็นศูนย์กลางการค้าที่กำลังขยายตัวระหว่างโลกตะวันตกและตะวันออก เป็นอย่างมาก ในระหว่างปี พ.ศ.2416-2456 ซึ่งเป็นผลมาจากจำนวนผู้อพยพเข้ามาครั้งแรกในปี พ.ศ.2362 ที่มีเพียง 150 คน เพิ่มขึ้นถึง 80,792 คน ในปี พ.ศ.2403 โดยผู้อพยพส่วนใหญ่เป็นชาวจีน อินเดีย และมาเลย์ต่อมาในปี พ.ศ.2400 รัฐบาลอังกฤษได้เข้ามาดูและระบบหน่วยบริหารปกครองหน่วยเดียว (Straits Settlement) นี้เอง ในปี พ.ศ.2410 สิงคโปร์กลายเป็นอาณานิคม (Crown Colony) อย่างสมบูรณ์

           เมื่อ เกิดสงครามโลกครั้งที่สอง เคยถือกันว่าสิงคโปร์เป็นป้อมปราการที่ไม่มีวันแตก แต่แล้วกองทัพญี่ปุ่นก็สามารถยึดครองเกาะแห่งนี้ได้ในปี พ.ศ.2485 แต่หลังสงครามสิ้นสุดลง สิงคโปร์ในปี พ.ศ.2489 ก็ได้รับการยกฐานะให้เป็นอาณานิคมแบบเอกเทศ (Separate Crown colony) เมื่อเห็นสหพันธรัฐมาลายาได้รับรัฐเอกราชจากอังกฤษในปี พ.ศ.2500 สิงคโปร์ก็ขอเข้าร่วมเป็นสหภาพมาลายาด้วย แต่ด้วยความรู้สึกว่ามีการเหยียดชนชาติกัน สิงคโปร์ก็ประกาศแยกตัวเป็นสาธารณรัฐอิสระในวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ.2508 ซึ่งนับเป็นวันชาติสิงคโปร์

โดย สำนักงาน ก.พ. วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2558


คำค้นหา
 
comments powered by Disqus
ข่าวในประเภทข่าวอาเซียนทั่วไป
ข่าวโดยสำนักงานพาณิชย์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ข่าวล่าสุด
สนใจมากสุดในรอบเดือน
เข้าชมล่าสุด