การสนทนาเรื่องศาสนาและประวัติศาสตร์อินโดนีเซีย
การสนทนาเรื่องศาสนา
- ควรทราบว่าอินโดนีเซียเป็นประเทศ ที่มีประชากรที่นับถือศาสนาอิสลามมากที่สุดในโลกแต่ชาวบาหลีซึ่งเป็นกลุ่ม ประชากร ส่วนหนึ่งของประเทศส่วนใหญ่นับถือศาสนาฮินดู
- ควรทราบว่าศาสนาประจำชาติของชาวอินโดนีเซีย พวกเขามีศรัทธาและเคร่งครัดในการปฏิบัติตนมาก ดังนั้นเราควรเปิดใจเรียนรู้ข้อปฏิบัติของศาสนาอิสลามด้วย เพื่อสร้างความประทับใจให้แก่ชาวอินโดนีเซีย
- ควรทราบว่าศาสนาฮินดูของชาวบาหลีเหมือนกับฮินดูในประเทศอินเดียและเนปาลที่ นับถือเทวรูปของพระเจ้าทั้งสาม คือ พระศิวะ พระพรหม และพระวิษณุ แต่ชาวบาหลีในอินโดนีเซียจะมีความเชื่อในเรื่องของอำนาจหรือพลังของเทพเจ้า ที่จะต้องอยู่ด้วยกันเสมอ
- ควรทราบว่าชาวบาหลีเชื่อว่าเทพฝ่ายธรรมะต้องการ การเซ่นสรวงบูชาด้วยดอกไม้ น้ำ และข้าวปลาอาหาร การถวายดนตรี และละครฟ้อนรำและสร้างเทวรูปกับสร้างโบสถ์วิหารที่ยิ่งใหญ่สวยงามถวาย เทพเจ้า สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้เทพเจ้าหรือเทพฝ่ายธรรมะ (เทวะ) บันดาลให้อยู่ดีกินดี ให้เก็บเกี่ยวพืชผลได้ตามฤดูกาล
- ควรทราบว่าชาวบาหลีเชื่อว่าพญามารหรือเทพฝ่ายอธรรม (ภูติ หรือยักษ์) จะสร้างภัยพิบัติต่างๆ เช่น ความเจ็บปวด ความตาย ภัยธรรมชาติ เพื่อป้องกันมิให้เกิดภัยพิบัติดังกล่าว ชาวบาหลีจะต้องเซ่นสังเวยวิญญาณภูติร้ายหรือเทพฝ่ายอธรรมด้วยเครื่องบวงสรวง บูชาที่จัดขึ้นเป็นพิเศษเพื่อขอขมาและเอาใจไม่ให้ภูตร้ายโกรธจนบันดาลให้ เกิดเหตุการณ์เหล่านั้นได้
- ควรทราบว่าชาวบาหลีมีความเชื่อว่า ภูเขาไฟ คือ สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่ประทับของเทพเจ้าทั้งหลาย จึงมีการทำพิธีกรรมบูชาภูเขาไฟทั้ง 3 ลูก บนเกาะบาหลี เป็นประเพณีในฐานะสิ่งที่เคารพสูงสุดเป็นประจำ ชาวบาหลีเชื่อว่า ทะเล คือ ที่สิงสถิตของมารหรือวิญญาณชั่วร้าย แผ่นดิน คือ ที่อยู่อาศัยของมนุษย์ ดังนั้นเพื่อป้องกันภัยพิบัติจากวิญญาณร้ายๆ ในทะเล ชาวบาหลีจึงสร้างวัดและโบสถ์ไว้ตรงกลางระหว่างภูเขากับทะเล
- ควรทราบว่าฝ่ายชายและหญิงต้องเป็นมุสลิมเท่านั้น จึงสามารถแต่งงานกันได้ แต่ถ้ามีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเปลี่ยนศาสนา ให้ถือว่าความเป็นสามีภรรยาก็สิ้นสุดลงด้วย โดยถือว่าเป็นการผิดประเวณี
การสนทนาเรื่องประวัติศาสตร์
ควร ทราบถึงหลักปัญจศีล คือ เครื่องมือทางสังคมที่คิดขึ้นโดยประธานาธิบดีซูการ์โน ในปี ค.ศ.1945 เพื่อสร้างเอกภาพในหมู่คนอินโดนีเซียมีดังนี้
1. เชื่อในพระเจ้าผู้ทรงพลานุภาพเพียงองค์เดียว
2. หลักมนุษยธรรมที่มีอารยะและยุติธรรม
3. อินโดนีเซียที่เป็นเอกภาพ
4. ประชาธิปไตยที่นำทางโดยภูมิปัญญาและการมีผู้แทน
5. ความยุติธรรมในสังคม
ความ สำคัญของคัมภีร์กุรอาน ควรทราบว่า "คัมภีร์กุรอาน" มีความสำคัญเป็น 1 ใน 2 ของความเชื่อ ความศรัทธา และหลักปฏิบัติของอิสลามที่มุสลิมใช้อิงเป็นบรรทัดฐาน คัมภีร์กุรอาน คือ หลักคำสอนของพระเจ้าที่ตรัสกับนบี มูฮัมหมัดในช่วง 22 ปีสุดท้ายของชีวิต (ประมาณ 570-632 ก่อนคริสตกาล) คัมภีร์กรุอานได้เว้นการบริโภคซากสัตว์ที่ตายเอง เนื้อสุกรและสัตว์ทั้งหลายที่ถูกเชือดหรือถูกประหารโดยการขออนุญาตจากผู้ที่ มิใช่อัลลอฮ์
ความ สำคัญของซุนนะ ควรทราบว่า "คัมภีร์ซุนนะ" มีความสำคัญ 1 ใน 2 ของความเชื่อความศรัทธาและหลักปฏิบัติของอิสลามที่มุสลิมใช้อ้างอิงเป็น บรรทัดฐาน คัมภีร์ซุนนะ คือ หลักเกณฑ์ที่คนนอกไม่ค่อยรู้จักนัก เป็นบรรทัดฐานโบราณเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ อิงตามสิ่งที่นบี มูฮัมหมัดปฏิบัติหรือตรัสกับผู้ที่เกี่ยวข้อง ถึงแม้ว่ามีความสำคัญรองจากคัมภีร์กรุอาน แต่ซุนนะหรือซุนเนาะห์คือองค์ประกอบสำคัญพื้นฐานสำหรับมุสลิมทั้งหลาย
ความ สำคัญของชารีอา ควรทราบว่า กฎหมายชารีอา (Sharia หรือ Shari ah) คือ ประมวลข้อปฏิบัติต่างๆ ของกฎหมายศาสนาของศาสนาอิสลาม กฎหมายชารีอา คือโครงสร้างทางกฎหมายที่ครอบคลุมวิถีการดำเนินชีวิตประจำวันที่รวมทั้งระบบ การปกครอง ระบบเศรษฐกิจ ระบบการดำเนินธุรกิจ ระบบการธนาคาร ระบบการทำสัญญา ความสัมพันธ์ในครอบครัว หลักของความสัมพันธ์ทางเพศ หลักการอนามัย และปัญหาของสังคม
โดย สำนักงาน ก.พ. วันที่ 19 มีนาคม 2558