อ่าน 2,085
การดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
การเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ.2558 อาจก่อให้เกิดผลกระบต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของภูมิภาคอย่าง ชัดเจน ประเทศสมาชิกอาเซียนจึงได้ร่วมกันกำหนดแผนการดำเนินงานเพื่อส่งเสริมความ ยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมของอาเซียนไว้ภายใต้แผนการจัดตั้งประชาคมสังคมและ วัฒนธรรมอาเซียน โดยกำหนดยุทธศาสตร์ไว้ 11 ประการ ดังนี้
1) การจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อมของโลก (Global Environmental Issues)
2) การจัดการและการป้องกันปัญหามลพิษทางสิ่งแวดล้อมข้ามแดน (Transboundary Environmental Pollution)
3) ส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนโดยการศึกษาด้านสิ่งแวดล้อมและการมีส่วนร่วมของประชาชน (Environmental Education)
4) ส่งเสริมเทคโนโลยีด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Sound Technology-EST)
5) ส่งเสริมมาตรฐานคุณภาพชีวิตในเขตเมือง และชุมชนของประชาคมอาเซียน (Environmentally Sustainable Cities)
6) การมีนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมและฐานข้อมูลที่สอดคล้องกัน (Harmonization of Environmental and Database)
7) การส่งเสริมการใช้ทรัพยากรชายฝั่งและทรัพยากรทางทะเลอย่างยั่งยืน (Coastal & Marine Environment)
8) ส่งเสริมการจัดการเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทาง ชีวภาพอย่างยั่งยืน (Natural Resources & Biodiversity)
9) ส่งเสริมความยั่งยืนของทรัพยากรน้ำจืด (Freshwater Resource)
10) การตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการจัดการต่อผลกระทบ (Climate change)
11) ส่งเสริมการบริหารจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน (Forestry)
โดย กระทรวงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม วันที่ 8 กรกฎาคม 2558
คำค้นหา