คุณสมบัติการเป็นสถาปนิกวิชาชีพในอาเซียนเว็บไซต์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ภาพ logo website จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

คุณสมบัติการเป็นสถาปนิกวิชาชีพในอาเซียน

ผู้เขียน:  นักวิชาการพาณิชย์ปฏิบัติการ สพจ.อย. จาก สำนักงานพาณิชย์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ปรับปรุงเนื้อหาสุดเมื่อวันศุกร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 เวลา 16:38 น.

 อ่าน 1,938
คุณสมบัติการเป็นสถาปนิกวิชาชีพในอาเซียน
 
สถาปนิกวิชาชีพผู้ซึ่งมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
 
1) สำเร็จระดับปริญญา ทางสถาปัตยกรรมที่ได้รับการยอมรับโดยองค์กร ด้านการรับรองสถาปัตยกรรมวิชาชีพ ไม่ว่าจะในประเทศแหล่งกำเนิดหรือประเทศผู้รับ หรือที่ได้รับการประเมินและยอมรับว่าเทียบเท่ากับระดับการศึกษาดังกล่าว การศึกษาสถาปัตยกรรมต้องมีจำนวนไม่น้อยกว่า 5 ปีการศึกษาในระบบภาคการศึกษาปกติ ซึ่งผ่านการรับรองหลักสูตรของมหาวิทยาลัยแล้วในประเทศแหล่งกำเนิด หรือการได้รับการยอมรับให้เทียบเท่าอย่างใดอย่างหนึ่ง
 
2) มีการขึ้นทะเบียนหรือมีใบอนุญาตที่ยังมีผลในปัจจุบันเพื่อประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมในประเทศแหล่งกำเนิด ซึ่งออกให้โดยผู้มีอำนาจกำกับดูแลด้านวิชาชีพ (PRA) ของประเทศสมาชิกอาเซียน และสอดคล้องกับนโยบายของตนด้านการขึ้นทะเบียน/การอนุญาต/การรับรองในการประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรม
 
3) มีประสบการณ์ในภาคปฏิบัติและมีความหลากหลายมาไม่ต่ำกว่า 10 ปี หลังจบการศึกษา ทั้งนี้ต้องทำงานอย่างต่อเนื่องโดยตลอด 5 ปีในขณะที่ถือใบอนุญาตและจะต้องได้รับผิดชอบงานด้านสถาปัตยกรรมที่เด่นชัดตามที่ระบุในภาคผนวก 4
ตัวอย่างที่ 3 แล้วอย่างน้อย 2 ปีด้วย
 
4) ปฏิบัติสอดคล้องตามนโยบายการพัฒนาวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง (CPD) ของประเทศแหล่งกำเนิดในระดับที่น่าพอใจ
 
5) ได้รับใบรับรองจากผู้มีอำนาจกำกับดูแลด้านวิชาชีพ (PRA) ของประเทศแหล่งกำเนิด และไม่มีประวัติการกระทำผิดอย่างร้ายแรงด้านเทคนิค มาตรฐานวิชาชีพ และจรรยาบรรณ ระดับท้องถิ่น และระหว่างประเทศ ในการประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรม
 
6) ปฏิบัติตามข้อตกลงอื่นที่ผ่านการเห็นชอบร่วมกันของสภาสถาปนิกอาเซียน (AAC )จะมีสิทธิขอสมัครต่อสภาสถาปนิกอาเซียน (AAC) เพื่อได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นสถาปนิกวิชาชีพอาเซียน (AA) ภายใต้ทะเบียนสถาปนิกวิชาชีพอาเซียน (AAR)
 
              สถาปนิกวิชาชีพ ผู้มีคุณสมบัติข้างต้นและปฏิบัติสอดคล้องตามแนวทางด้านหลักเกณฑ์ และระเบียบวิธีปฏิบัติตามภาคผนวก 2 และบรรลุถ้อยแถลงด้านการประเมินตามภาคผนวก 3 เมื่อได้รับและชำระค่าธรรมเนียมแล้ว ได้บรรจุภายใต้ทะเบียนสถาปนิกวิชาชีพอาเซียน (AAR) และมีฐานะเป็นสถาปนิกวิชาชีพอาเซียน (AA) ทั้งนี้ สถาปนิกวิชาชีพอาเซียน (AA) จะประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมได้เฉพาะในขอบข่ายงานที่ได้รับอนุญาตตามความชำนาญของสถาปนิกวิชาชีพผู้นั้นภายใต้ข้อตกลงฯ นี้เท่านั้น

โดย กระทรวงแรงงาน วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2558


คำค้นหา
 
comments powered by Disqus
ข่าวในประเภทข่าวอาเซียนทั่วไป
ข่าวโดยสำนักงานพาณิชย์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ข่าวล่าสุด
สนใจมากสุดในรอบเดือน
เข้าชมล่าสุด