ลักษณะประชากรอินโดนีเซีย
ประชากร อินโดนีเซียประกอบด้วยหลายเชื่้อชาติและเผ่าพันธุ์ แต่ละเผ่าพันธุ์ต่างก็มีมรดกทางวัฒนธรรมและลักษณะทางสังคมของตนสืบทอดกันมา จากการที่สภาพที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ของประเทศอินโดนีเซียมีลักษณะแยกกันเป็น หมู่เกาะมากมาย และมีอาณาเขตกว้างไพศาลประชากรติดต่อกันได้ยาก ทำให้แต่ละภูมิภาคมีรูปแบบวัฒนธรรมของตนเอง จึงปรากฎลักษณะวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี ภาษาที่ใช้ และวิถีชีวิตแตกต่างกันไปในแต่ละกลุ่มชน ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็นสามกลุ่มใหญ่ๆ ด้วยกัน คือ
กลุ่ม แรก เป็นกลุ่มประชากรที่อาศัยในเกาะบาหลีผู้คนที่อยู่ในแถบนี้จะยึดมั่นตามแนว ทางของศาสนาฮินดูและศาสนาพุทธมีวัฒนธรรมเน้นหนักในเรื่องคุณค่าของจิตใจและ สังคม ก่อให้เกิดการพัฒนาศิลปะอย่างมากมาย โดยเฉพาะนาฎศิลป์และดุริยางคศิลป์ในการดำเนินชีวิตประจำวันประชากรจะประพฤติ ตามหลักจริยธรรม มีการเคารพต่อบุคคลตามฐานะของบุคคลนั้นๆ
กลุ่ม สอง เป็นกลุ่มประชากรที่อาศัยอยู่ตามบริเวณริมฝั่งทะเลของเกาะต่างๆ ดำเนินชีวิตอยู่ได้ด้วยการประกอบการค้าขาย มีชีิวตทางวัฒนธรรมตามหลักของศาสนาอิสลามอย่างเคร่งครัด และเป็นนักธุรกิจของสังคมอินโดนีเซียยุคใหม่ และได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้มีความรู้ทางศาสนาและกฎหมาย
กลุ่ม สาม เป็นกลุ่มที่มีความล้าหลังมาก อาศัยอยู่ตามบริเวณเทือกเขาในส่วนลึกของประเทศ ดำเนินชีวิตอยู่ด้วยการล่าสัตว์และการเพาะปลูก รัฐบาลอินโดนีเซียได้เข้าไปปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตของชนกลุ่มนี้แล้ว จนกลุ่มนี้ยังยึดหลักการปฏิบัติที่เรียกเป็นภาษาอินโดนีเซียว่า "โกตองโรยอง" คือ การช่วยเหลือพึ่งพาอาศัยกันในงานต่างๆ เช่น การเพาะปลูก การเก็บเกี่ยว การแต่งงาน การสร้างบ้านที่อยู่อาศัย และการใช้ที่ดินร่วมกัน
โดย สำนักงาน ก.พ. วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2558