ลักษณะทางสังคมและวัฒนธรรมกัมพูชา
ประเทศ กัมพูชาเป็นดินแดนที่เก็บอารยธรรมบนแผ่นดินไว้มากมายอย่างความใหญ่โตมโหฬาร ของนครวัดนครธรม จึงไม่แปลกที่มีประชากรนับถือศาสนาพุทธกว่าร้อยละ 95 แต่ประชาชนยังมีความเชื่อตามชาวเขมรโบราณที่มีความเชื่อในอำนาจเร้นลับที่มี อยู่กับธรรมชาติ (Animism)
เมื่อ ชาวบ้านมีปฏิสัมพันธ์กับชาวต่างถิ่นก็อาจได้รับอิทธิพลจากความเชื่ออื่นๆ เพิ่มขึ้น โดยไม่จำเป็นต้องละทิ้งความเชื่อดั้งเดิมซึ่งในเงื่อนไขของเวลาและสถานที่ ต่างกัน ชาวกัมพูชาได้รับเอาความเชื่อทางศาสนาและลัทธิต่างแดนมากมายที่สำคัญ คือ ศาสนาพุทธ ศาสนาอิสลาม ลัทธิขงจื้อ และลัทธิเต๋า
สังคม กัมพูชาจึงเป็นสังคมที่หลากหลายทางวัฒนธรรมที่คล้ายกับสังคมไทย มีพุทธศาสนาเป็นศาสนาหลัก ทำให้ประเพณีปฏิบัติต่างๆ ของประชาชนชาวกัมพูชาสอดคล้องใกล้เคียงกับไทยเป็นอย่างมาก
โดย ผู้สูงอายุจะเข้าวัดฟังธรรมเมื่อมีงานบุญตามประเพณี ประชาชนหนุ่มสาวและเด็กจะร่วมแรงช่วยเหลือจัดการงานอย่างสม่ำเสมอ ทั้งนี้ จะมีงานบุญประเพณีที่สำคัญทางพระพุทธศาสนาตามจันทรคติเช่นเดียวกับไทยเป็น วันหยุดราชการ ได้แก่
วันมาฆบูชา วันปีใหม่เขมร (Khmer New Year) ซึ่งตรงกับวันสงกรานต์จะหยุดราชการในวันที่ 14-16 เมษายน ของทุกปี
วัน วิสาขบูชา วันสาร์ทเขมร ซึ่งตรงกับวันแรม 15 ค่ำ เดือน 10 เรียกว่า งานวันปรอจุมเบณ (Pchum Benday) โดยจะเป็นวันหยุดราชกร 3 วัน ตั้งแต่วันแรม 14 ค่ำ เดือน 10 จนถึงวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 11 และงานวันลอยกระทง (Water Festival) เรียกว่า งานบุญอมตุุก ฯลฯ
หาก จะกล่าวโดยภาพรวมแล้ว ขนบธรรมเนียม วัฒนธรรม และประเพณีของกัมพูชาและไทยจะใกล้เคียงกันในทุกเรือง รวมทั้งภาษาถ้อยคำ พยัญชนะ สระ ตัวอักษร คำศัพท์ต่างๆ ซึ่งที่ผ่านมาได้ถูกหยิบยืมแลกเปลี่ยนใช้สืบเนื่องกันมา
โดย สำนักงาน ก.พ. วันที่ 17 มีนาคม 2558