อ่าน 6,212
อันดับประเทศที่ได้รับผลกระทบจากการก่อการร้ายของประเทศอาเซียน
การข้ามพรมแดนที่เสรีไม่ว่าจะเป็นสินค้า สิ่งของ เงิน หรือมนุษย์ ถือเป็นคุณลักษณะสำคัญของการบ่งชี้ความเป็นโลกาภิวัตน์ ด้วยเหตุนี้ เมื่อโลกาภิวัตน์ขยายตัวขึ้นเรื่อย ๆ ดังเช่นการรวมกลุ่มประชาคมอาเซียน ผลพวงประการหนึ่งที่มิอาจหลีกเลี่ยงได้ก็คือการเกิดอาชญากรรมข้ามชาติใน ระดับที่ต้องเฝ้าระวังเพิ่มขึ้น การก่อการร้ายถือเป็นรูปแบบหนึ่งของอาชญากรรมข้ามชาติ ประเทศที่เผชิญหน้ากับปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติในรูปแบบการก่อการร้ายต้องหา ทางแก้ไขปัญหา และแน่นอนที่ต้องการความร่วมมือกันระหว่างประเทศสำหรับประเทศสมาชิกอาเซียน เองก็ตระหนักและมีการกำหนดทิศทางความร่วมมือในประเด็นของอาชญากรรมข้ามชาติ ในรูปแบบการก่อการร้ายอยู่ด้วย ในบรรดาสมาชิกของประเทศอาเซียนนั้นเมื่อพิจารณาจากดัชนีผลกระทบจากการก่อการ ร้าย (Global Terrorism Index) จัดทำโดยสถาบันเศรษฐศาสตร์และสันติภาพ (The Institute for Economics and Peace : IEP) ซึ่งมีลำดับที่สวนทางกันกับดัชนีสันติภาพโลก ซึ่งจัดทำโดยสถาบันเดียวกัน ในการจัดอันดับดังกล่าวเห็นได้ว่าประเทศอาเซียนมีลำดับที่แตกต่างกันอย่าง น่าสนใจ
สำหรับดัชนีสันติภาพโลกได้ให้ความหมายของสันติภาพที่กว้างกว่าการไม่มี สงครามและความรุนแรง แต่หมายถึงการพัฒนาทางเศรษฐกิจและความยุติธรรมทางสังคมที่อยู่บนหลักความ มั่นคงปลอดภัย การลดปริมาณและการแข่งขันสะสมอาวุธ การมีเสรีภาพ การยอมรับความหลากหลาย ศักดิ์ศรีและการเคารพในสิทธิมนุษยชน ผลการจัดอันดับดัชนีสันติภาพโลก ฉบับล่าสุด ปี 2014 ไทยอยู่ในอันดับที่ 126 จาก 162 ประเทศ
ในขณะที่ดัชนีผลกระทบจากการก่อการร้ายในปี 2014 ไทยอยู่ในลำดับที่ 10 ที่เป็นลำดับที่ไม่ดี แต่ก็ยังอยู่ต่อท้ายฟิลิปปินส์ที่รั้งอันดับที่ 9 แสดงการเปรียบเทียบดัชนีผลกระทบจากการก่อการร้ายในกลุ่มประเทศอาเซียน ประจำปี 2014 ได้ดังนี้
คะแนนในตารางสร้างขึ้นจากตัวชี้วัดที่เป็นเรื่องของความรุนแรงจากการ ก่อการร้ายโดยวัดจากจำนวนการโจมตี จำนวนผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บ และทรัพย์สินที่สูญเสียจากการก่อการร้าย และสำหรับประเทศที่ติดอันดับ 1-10 ในรายงานจะระบุถึงสถานการณ์ที่เป็นผลกระทบจากการก่อการร้ายไว้ด้วย ทั้งนี้ ในปี 2014 ประเทศที่ติดอันดับ 1-10 ของโลกที่ได้รับผลกระทบจากการก่อการร้ายมากที่สุดเรียงตามลำดับ ได้แก่ อิรัก (10 คะแนน) อัฟกานิสถาน (9.39) ปากีสถาน (9.37) ไนจีเรีย (8.58) ซีเรีย (8.12) อินเดีย (7.86) โซมาเลีย (7.41) เยเมน (7.31) ฟิลิปปินส์ (7.29) และประเทศไทย (7.19) โดยประเทศเหล่านี้ล้วนมีผลกระทบที่เลวร้ายจากการก่อการร้ายมาเป็นเวลาต่อ เนื่อง และเป็นประเทศที่มีดัชนีนี้ติดอันดับสูงสุด 1-10 ในปี 2013 ด้วย เพียงแต่มีการสลับอันดับบ้างเล็กน้อย ส่วนไทยอยู่ในอันดับ 10 ติดต่อกันมา 2 ปี
เมื่อมีประเทศอาเซียนถึง 2 ประเทศ ติดอันดับประเทศที่ได้รับผลกระทบจากการก่อการร้ายมาเป็นเวลาต่อเนื่อง ประเด็นนี้คงเป็นอีกหนึ่งโจทย์สำหรับประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน ที่ต้องหาแนวทางแก้ไขร่วมกัน
ส่วนอาเซียน สำนักการประชาสัมพันธ์ต่างประเทศ กรมประชาสัมพันธ์ วันที่ 16 กรกฎาคม 2558
คำค้นหา